บทที่ 9 E-government

E-Government 
ความหมาย e-government
* e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการ คือ
     1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
     2.ทําให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
     3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
     4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกวาเดิม
* e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ เครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทําให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนํามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สําคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจาก การเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนําไปสู่การลดคอรัปชัน หากเทียบกับ e-commerce แล้ว egovernment คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet  มีระบบความปลอดภัย เพื่อทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่ e-services เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ

รูปภาพ

 

หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมันคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชําระเงินค่าบริการธุรกิจก็สามารถดําเนินการ ค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญในการให้บริการตามแนวทาง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

รูปภาพ

บทที่ 8 E-Marketing

     E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการ ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครืjองมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและ สะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ พีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการ ตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อ บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง

รูปภาพ

Distinguishing between e-marketing, e-business LOGO and e-commerce

รูปภาพ

ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น

  • เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้ าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ
    104 ภาษา
  • สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
  • ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
  • จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มนึ้เรื่อยๆ
  • คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น 

Click and Click 

     เป็นการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตออย่างเดียว ไม่มีธุรกิจในโลกจริง

รูปภาพ

Click and Mortar
     เป็นรูปแบบที่มีธุรกิจจริง (Real) อยู่แล้วแต่ขยายมาทำในอินเทอร์เน็ต

รูปภาพ

การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์ 
  • กำหนดเป้ าหมาย
  • ศึกษาค่แข่ง
  • สร้างพันธมิตร
  • ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
  • ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์

การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ผ่าน http://www.Truehits.net 

  • เก็บข้อมูลผู้ที่เข้ามาเว็บไซต์ เชิงลึก (วันเวลา, ประเทศ)
  • สมัครฟรี.!

รูปภาพเว็บเล็กๆเริ่มต้นอย่างไร? 

  • โฟกัสกล่มุ ลูกค้าที่ชัดเจน เว็บเล็กแต่มีคุณภาพ (Niche Market) ถ้าเหมือนต้องทำให้“ดีกว่า”
  • สร้างความแตกต่างให้ชัดเจน (Differentiate)
  • เริ่มต้นทำเป็นเจ้าแรก (First Mover) Move Fast
  • สร้างสงั คมให้เกิดขึ้น (Community)
  • สร้างบริการต่างๆ ให้ตรงใจกับลูกค้า (Stickiness)
  • PR ตรงกล่มุ เป้ าหมายที่ชัดเจน (Offline+Online)

การสร้างเอกลักษณ์ของเว็บไซต์ (Web Identity) 

     การสร้างให้คนรู้จักและจดจำ Brand ของเว็บไซต์คุณก็ หมือนกับ สร้างความคุ้นเคยของลูกค้าที่มีต่อ
เว็บไซต์ของคุณ

รูปภาพ

  • การวางคอนเซพท์ของตัวเว็บไซต์
  • สไตล์การเขียนที่เป็นเอกลักษณ์
  • มีความสอดคล้องกับแบรนด์สินค้าหรือบริการหลักเว็บไซต์ของ Hutch (www.Hutch.co.th)
  • ลักษณะการออกแบบเว็บไซต์
    – การใช้สีสัน
    – การวางรูปแบบบหรือเลย์เอาท์
    – การใช้โลโก้ที่มีความโดดเด่น

ทำไมต้องใช้ Search Engine?จากข้อมูลของ Wall Street Journal ได้บอกไว้ว่า

  • 85% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลก ใช้ Search Engine 
  • 87% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต จะหาเว็บไซต์จาก Search Engine (ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Georgia Tech) 
  • 70% ของการซื้อขายอีคอมเมิร์ซเริ่มต้นจากการใช้เสิร์ชค้นหา(Source: Forrester/IAB)

1. Natural Search Engine Optimization (SEO)

ข้อดี

  • ฟรี Traffic 
  • ผู้ชมจะคลิกในส่วนนี้สูงถึง 60-70% 

ข้อเสีย

  • ใช้เวลานานในการขึ้นอันดับ
  • สามารถเลือกจำนวน keyword ได้จำกัดแค่ 2-5 คำต่อเนื้อหาหนึ่งหน้าของเว็บเพจ
  • ไม่สามารถรักษาสถานะของอันดับได้แน่นอน
  • ไม่สามารถวัดค่า ROI ที่แน่นอนใช้เวลานานกว่าจะรู้ผลของแต่ละคำ

2. Paid Search Advertising (Pay Per Click Advertising)

ข้อดี

  • พร้อมใช้ในเวลาไม่ถึง 15 นาที
  • แม้ว่า Search Engine จะเปลี่ยนแปลงการจัดใหม่ อันดับของคุณจะคงที่อยู่เสมอ 
  • สามารถเลือกจำนวน keyword ได้ไม่จำกัด 
  • ควบคุมค่าใช้จ่าย และสามารถวัดค่า ROI ได้แม่นยำและใช้เวลาไม่นาน

ข้อเสีย

  • ต้องเสียเงินทุกครั้งเมื่อมีคนคลิก Ad
  • ต้องใช้ทักษะที่ค่อนข้างสูงในการบริหาร Ad

ลูกค้าจะหาเว็บคุณเจอได้อย่าไร?

รูปภาพ

วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online 
  • จัดทำโฆษณาแบนเนอร์ โฆษณาตามเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมาย
  • แลกลิงค์กับเว็บอื่นๆ (เขียนเมล์ไปขอ) – Barter Banner
รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์
  • ขายโฆษณาออนไลน์
  • ขายสินค้า E-Commerce
  • ขายบริการหรือสมาชิก
  • ขายข้อมูล (Content)
  • การจัดกิจกรรม, งาน
  • การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
  • การรับพัฒนาเว็บไซต์

6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ 

  • C ontent (ข้อมูล)
  • C ommunity (ชุมชน,สังคม)
  • C ommerce (การค้าขาย)
  • C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
  • C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
  • C onvenience (ความสะดวกสบาย)

บทที่ 7 Supply chain management (ต่อ)

     ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบสินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ
รูปภาพ
ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
     เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้ งเดิมที่ต้องการสร้างผลกําไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชํานาญในการทํางานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทํางานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
     ในระยะนี้ องค์กรจะเริ่มจัดตั้ งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
     ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทําให้มีการติดต่อประสานงานเชื่่อมโนงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้ น การทํางานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
     ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสําคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทํางานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทํางานเดียวกัน เพื’อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนําส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน

 

การบริหารจัดการซัพพลายเชน พิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กร
   ใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
          1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)
          2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Demand-management interface capabilities)
          3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)

   ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
          1. ปัญหาจากการพยากรณ์
          2. ปัญหาในกระบวนการผลิต
          3. ปัญหาด้านคุณภาพ
          4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
          5. ปัญหาด้านสารสนเทศ

          6. ปัญหาจากลูกค้า
 
     ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)  เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดําเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทําธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

     การใช้บาร์โค้ด (Bar code) บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้ จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner  บาร์โค้ดจึงทําหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทําการผลิต เลขหมายเรียงลําดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตําแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุมการหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการรับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่สําคัญการติดบาร์โค้ดถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความซํ าซ้อนในการทํางาน

รูปภาพ
       ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกรรมประจําวัน และยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
รูปภาพ
     ระบบ CRM (Customer Relationship Management) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่องค์กรนํามาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้ากับองค์กรตลอดวงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การตลาด การขาย การให้บริการ และการสนับสนุน โดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากร โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ demain chain management  ผ่านการจัดโปรแกรมเพื่อจูงใจลูกค้า เช่น การสะสมคะแนน การให้บริการตอบคําถาม (call center)  การให้สิทธิประโยชน์ หรือส่วนลดต่างๆ เป็นต้น
รูปภาพ

บทที่ 6 Supply Chain Management

Supply Chain Management หมายถึง

           การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า

 รูปภาพ

แก่นสำคัญของ Supply Chain Management
       แม้ว่าการผลิตจะมีความซับซ้อนและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ยากต่อการควบคุม แต่หน้าที่ทางการผลิตของทุกองค์กรจะมีหลักการพื้นฐานต่างๆ เหมือนกัน
        สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
          1. วัตถุดิบ (Materials)
          2. สารสนเทศ (Information)

     การบริหารการผลิตจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อกระบวนการผลิตเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด และมีระบบที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ยิ่งมีระบบย่อยหรือแยกส่วนมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้นเท่านั้น

 
ปัญหาคือความสนใจที่แตกต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
     –     ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบและมีราคาถูก
     –     พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คำสั่งที่ถูกต้อง
     –     ฝ่ายจัดซื้อต้องการได้วัตถุดิบที่ถูกต้อง มีคุณภาพ
     –     ผู้จำหน่ายวัตถุดิบต้องการคำสั่งซื้อที่ถูกต้องเพื่อจะได้จัดส่งได้ถูกต้อง

     –     ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง 

 

ประโยชน์ของการทำ SCM
     1.  การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
     2.  ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
     3.  เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
     4.  ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
     5.  ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
     6.  ปรับปรุงการบริการลูกค้า

การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการจัดการด้าน Supply Chain
           Supply Chain Management คือ การจัดการเชื่อมกิจกรรมต่างๆที่สัมพันธ์ กันระหว่างผู้ผลิต (Supplier) ผู้จัดจำหน่าย(Distributor) และลูกค้า (Customer) กลยุทธ์ทางด้าน Supply Chain นั้นได้แก่ ความพยายามที่จะผูกลูกค้า ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายกับธุรกิจ เรียกว่า Lock-inCustomers หรือ Lock-in Suppliers เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไปทำธุรกิจกับผู้อื่น (Switching Cost) มีสูงขึ้น 

    

บทที่ 5 E-Commerce

 ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสาร 
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce)
     คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง ขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
    -การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
    -การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
    -การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
    -การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
    -รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
    -การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่               
 
(M-Commerce : Mobile Commerce)
 
โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
 
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
    1.ระบบเครือข่าย (Network)
    2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
    3.การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
    4.การรักษาความปลอดภัย (Security)
 
การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
องค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
    1.การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
    2.การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
    3.กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
    4.การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
    5.การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion
 
Business Model of E-Commerce
  Brick – and – Mortar Organization
    องค์กรแบบดั้งเดิมที่ดำเนินงานโดยที่ไม่ได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต Virtual Organization  
    องค์กรที่ดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์ล้วนๆ Click – and – Mortar Organization
    ดำเนินธุรกิจทางด้านE-commerceบางอัน ธุรกิจหลักคือมี E-commerce ด้วยมีหน้าร้านด้วย
 
ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
    1.Business-to-Business (B2B)
    2.Business-to-Customer (B2C)
    3.Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
    4.Customer-to-Customer (C2C)
    5.Customer-to-Business (C2B)
    6.Mobile Commerce
 
กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
    1.Intrabusiness (Organization) E-Commerce
    2.Business-to-Employee (B2E)
    3.Government-to-Citizen (G2C)
    4.Collaborative Commerce (C-Commerce)
    5.Exchange-to-Exchange (E2E)
    6.E-Learning
 
E-Commerce Business Model
    แบบจำลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ รวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
 
ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
     ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้
 
  ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
     ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerceอื่น ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัว และมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว
 
  ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
     ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า  ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้าง ร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม
 
  ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
     การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน
 
  บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
     บริการจากภาครัฐมักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน  เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ
 
  ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
     ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้าปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก
 
  ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
      ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขายผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อหรือผู้ขายให้เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้ ตลาด ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ
 
  ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
      รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า
 
ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
    1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
    3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
    4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
    5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
    6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
    7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
    8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
    1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
    2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
    3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
    4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
    5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

บทที่ 4 Business Strategy

Business Strategy

คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้แบบจําลองทางธุรกิจเป็นจริงได้ ทํายังไงให้การสร้างมูลค่านั้นเป็นจริงได้ แล้วทํายังไงที่จะส่งมูลค่านั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทํายังไงให้มันแตกต่าง การทําธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง
อย่้างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทําธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้
– Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
– Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
– Strategy definition : กลยุทธ์การกําหนดนิยาม
– Strategy implementation : กลยุทธ์การดําเนินงาน

กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)

กลยุทธ์ เป็นตัวกําหนดทิศทางและการดําเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป์นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สําคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจําเป็นไม่แพ้กัน สรุปปัจจัยสําคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนํามาใช้ได้ซึ่งก็คือ
– ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
– กําหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
– กําหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
– เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
– จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร

E-channel strategies

E-Channel  ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า  โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกําหนดวิธีการที่ใช้ทํางานร่วมกับ
ช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์   E-Business

Strategy process models for e-business

Strategy Formulation

– การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณา ในแง่ต่างๆ
เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การต่างประเทศ ตลาด ลกค้าคู่แข่ง ผู้สนับสนุน
วัตถุดิบ และตลาดแรงงาน ฯลฯ
– การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื อหาจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น ความสามารถ ด้านการตลาด
การผลิต การเงิน สารสนเทศ กฎระเบียบ การจัดการ และ ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
– การกําหนดหรือทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การเพื อกําหนดให้แน่ชัดว่า

• องค์การของเราจะมีลักษณะเช่นใด
• มีหน้าที บริการอะไร แก่ใครบ้าง
• โดยมีปรัชญา หรือค่านิยมหลักในการดําเนินการเช่นใด

– การกําหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยทธ์
– การวิเคราะห์และเลือกกําหนดกลยทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ

Strategic Implementation

– การกําหนดเป้าหมายการดําเนินงาน
– การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดําเนินการ
– การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้างระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การและ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ

Strategic Control and Evaluation

– การติดตามตรวจสอบผลการดําเนินงานตามแผนกลยุทธ์
– การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ทีอาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจทําให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์

การจัดวางกลยุทธ์
รูปภาพ

บทที่ 3 E- ENVIRONMENT

Business Environment
นักปราชญ์ชาวจีนนาม ซุนวู ได้กล่าวไว้ในตำราพิชัย
สงครามว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คำกล่าวนี้จึง
ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการ
จัด ก า ร ธุร กิจ ก า ร ที่จ ะ “ รู้เ ข า ” ไ ด้นั้น จ ะ ต้อ ง ศึก ษ า
สภาพแวดล้อมภายนอกเสียก่อน ส่วนการ “รู้เรา” ก็คือ
การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในเป็นลำดับถัดมานั่นเอง การ
แข่งขันกันในเชิงธุรกิจผู้ที่จะชนะและสามารถครอบครองตลาด
ได้นั้นจึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในก่อนการลง
สนาม

ff

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค

          คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4
ประการ ได้แก่
– ด้านการเมืองและกฎหมาย
– เศรษฐกิจ
– สังคม
– เทคโนโลยี

dd

S (Strengths) จุดแข็ง
เป็นปัจจัยภายในที่ส ามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่

W (Weaknesses) จุดอ่อน
เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ

O (Opportunities) โอกาส
เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ

T (Threats) อุปสรรค
เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย

uu

กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)
เป็น การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)
เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข

กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)
เป็น การขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ

Social Factor
สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการ
ตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบ
ไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมี
ทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่
กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคล
และระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของ
ดิน น้ำ แร่ธาตุ หรืออากาศ

Political and Legal Factor
สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสำคัญที่
ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ โดย เฉพาะประเทศ
ไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ นักลงทุนทั้ง
ชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทาง การเมือง เพราะ
เกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ

Technological Factor
สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ
เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง
(Software)

บทที่ 2 E-business infrastructure

ความหมายของ E-business infrastructure

หมายถึงการรวมกันของฮาร์ดแวร์ เช่น  Server,Client Pc ในองค์กรณ์ รวมถึงเครือข่ายอินเตร์เน็ตที่เชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านั้น ซึ้งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และเครือข่ายที่มีในบริษัทด้วย และสุดท้าย ยังรวมไปถึงการนำของมูลและเอกสารเข้าสู้ระบบ E-business ด้วย

อินเทอร์เน็ต (Internet)   

เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น  สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

ll

 

การประยุกต์ใช้อินทราเน็ต (Applications of Intranet)

          บริษัทต่างๆ ใช้เทคโนโลยีอินทราเน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล, เก็บประวัติส่วนตัวของลูกค้า และเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จึงสามารถจำแนกการประยุกต์ใช้อินทราเน็ตออกเป็น

  1. เป็น เครื่องมือในการสนับสนุนการสื่อสารและความร่วมมือภายในองค์กร โดยการส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์เสียง โทรศัพท์ติดตามตัว และโทรสาร เพื่อติดต่อกับบุคคลอื่นภายในองค์กรและภายนอกผ่านอินเทอร์เน็ตและ เอ็กซ์ทราเน็ต นอกจากนี้ ยังสามารถใช้คุณสมบัติของกรุ๊ปแวร์อินทราเน็ต ในการปรับปรุงความร่วมมือของทีมและโครงการ เช่น กลุ่มหรือชุมชนสนทนาห้อง พูดคุย และการประชุมทางวีดีทัศน์และเสียง เป็นต้น
  2. ใช้ ในการ ดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการ (Business Operations and Management) ซึ่งอินทราเน็ตถูกใช้เป็นฐานงาน (Platform) สำ หรับการพัฒนา และนำมาใช้กับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและกา ตัดสินใจด้านการจัดการระหว่างองค์กร เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง การจัดการการขาย และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ซึ่งสามารถนำมา ใช้บนอินทราเน็ต

จาก กรณีศึกษาของบริษัท Sun Microsystems ผู้เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการใช้อินทราเน็ตในปี 1994 มีโฮมเพจและโปรแกรมประยุกต์ หลายๆโปรแกรมบนเว็บไซท์ SunWeb ซึ่งเป็นเว็บไซท์ขนาดมหึมาด้วยจำนวนแม่ข่ายเว็บอินทราเน็ตมากกว่า 3,000 แม่ข่ายสำหรับพนัก งาน 20,000 คน ทำหน้าที่ในการสนับสนุนลูกค้าที่สถานีปลายทางและแม่ข่ายกว่า 100 ประเทศ SunWebช่วยประหยัดต้นทุนเป็นจำนวน มาก เมื่อเทียบกับการจัดพิมพ์สารสนเทศบนกระดาษ และสื่ออื่นๆ ความง่ายและความเร็ว ในการแบ่งปันสารสนเทศสื่อประสมบนแม่ข่าย เว็บ ทำให้ได้ผลิตผลมากขึ้นและมีความสร้างสรรค์ในงานและโครงการของเขาเหล่านั้น จากอินทราเน็ตของ Sun ทำให้เกิดความคิดใน การประยุกต์โปรแกรมให้พนักงานสามารถนำมาใช้บนอินทราเน็ต ดังนี้

  1. การ เรียกดูได้ 3 ระดับ คือ การเรียกดูระดับองค์กร (Organizational View) การเรียกดูตามหน้าที่ (Functional View) ของบริษัท ( องค์กร ฝ่ายบุคคล ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด เป็นต้น) และการเรียกดูตามภูมิศาสตร์ (Geographical View)
  2. การดูสิ่งใหม่ ๆ เพื่อแจ้งข้อมูลการแถลงข่าวที่เกิดขึ้นของบริษัท รายงานทางเสียงแบบออนไลน์ และอื่นๆ
  3. เพื่อ ส่งเสริมการตลาดและการขาย ซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลการตลาดและการขาย สารสนเทศเทียบเคียง เครื่องมือด้านการ ตลาด สารสนเทศองค์กร และสารสนเทศเบื้องต้นเพื่อช่วยงานพนักงานขายและพนักงานตลาด
  4. เป็น สารบัญแฟ้มผลิตภัณฑ์ (Product Catalog) ประกอบด้วยสารสนเทศสื่อประสมของผลิตภัณฑ์ Sun สำหรับการอ้างอิงทั่วไป เพื่อ ประหยัดต้นทุนงานสิ่งพิมพ์
  5. เป็น สารสนเทศทาง วิศวกรรม ข้อมูลการเชื่อมไปยังเครื่องมือซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่เรียกใช้ได้บนเครื่อง แม่ข่ายท้องถิ่นของแต่ละคน ด้วยเอกสารแบบออนไลน์ สำหรับข้อมูลการฝึกอบรม วิธีที่ได้รับบริการ และวิธีการได้รับลิขสิทธิ์
  6. เพื่อ เป็นข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์และสิทธิประโยชน์ โดยรวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงาน คู่มือผู้จัดการชุด เครื่องมือสำหรับนักพัฒนาและข้อมูลการว่าจ้างแรงงานขององค์กร
  7. เป็น ห้องสมุดและการศึกษา โดยสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมภายในและภายนอกของบริษัท ซึ่งเชื่อมกับห้องสมุดของบริษัท เพื่อ เข้าถึงการบริการงานวิจัยและทรัพยากร อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดต้นทุนการอบรมและพัฒนา

เพื่อ เป็นข้อมูลสำหรับการเดินทาง โดยอธิบายถึงวิธีการเตรียมการอนุมัติค่าใช้จ่ายในการเดินทางจัดหาคำแนะนำการ เดินทางไป ยังต่างประเทศ เชื่อมกับโฮมเพจของความปลอดภัยระหว่างประเทศ แสดงอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา และสารสนเทศเกี่ยวกับระบบการ ขนส่ง

WEB 1.0 คืออะไร

ลองนึกย้อนไปตอน Internet เพิ่งเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงๆจังๆ (คงไม่รวมเอาแบบยุคเริ่มต้นเกินไปก็ได้นะ) เราจะเริ่มหรือเคยเห็นมีเว็บไซต์หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของเว็บไซต์ก็จะเป็นการนำเอาข้อมูลที่ตัวเอง ต้องการนำเสนอไปทำในรูปแบบของ html หรือข้อมูลต่างๆที่เราเห็นอยู่นั่นแหละไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ หรืออินเตอร์เน็ต ส่วนเราผู้ใช้ก็มีหน้าที่ คือกดเข้าไปอ่านส่วนเจ้าของก็คือมีหน้าที่คือ Update ข้อมูลเข้ามาทำกันไปกันมาแบบเดียวกันนี้แหละ ซึ่งโดยสรุปเราอาจจะเรียกวิธีการแบบนี้ว่าเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว หรือเรียกว่า One Way Communication ก็ได้

 

WEB 2.0 คืออะไร

จาก WEB 1.0 ต่อมาเว็บไต์ก็เริ่มมีการพัฒนา พวก WEB Board, Blog, มีการนำภาพมาแชร์ นำ วีดีโอ มา Post มีการแชร์ แบ่งปัน แลกเปลี่ยน พูดคุย ถกเถียงกัน นินทา ประจาน ใส่ร้ายก็มี ทั้งจากเจ้าของเว็บไซต์เอง หรือจากคนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์กันเองเรียกว่า ผู้ใช้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ข้อมูล หรือ Content ในเว็บไซต์นั้นมีการ update และพัฒนา ปรับปรุง อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เว็บไซต์มีรูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบสองทาง หรือ Two Way Communication ซึ่งพอมาถึงจุดนี้ทำให้ อินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากกกก ลองดูข้อมูลที่ผมได้มา จากภาพก็พอจะเข้าใจว่าเกิดไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาไม่กี่ปีของการพัฒนาจาก WEB 1.0 มาเป็น web 2.0

gg

 

WEB 3.0 คืออะไร

ที นี้..จาก WEB 2.0 ก็เริ่มขยับก้าวเข้ามาสู่ช่วงของ WEB 3.0 …แล้วอะไรละที่เพิ่มเข้ามา ก็มีคนสรุปไว้ค่อนข้างเยอะ ผมเองก็อ้างอิงและผนวกกับประสบการณ์และมุมมองส่วนตัวเข้ามาว่า สื่งที่คนพัฒนาเว็บกำลังพยายามทำกันต่อก็คือ แก้ไขปัญหาของข้อมูลหรือ Content ที่ไม่มีคุณภาพต่างๆ ที่ WEB 2.0 ได้สร้างขึ้น ซึ่งมีการขยายขนาดและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วทำยังไงละผู้ใช้ถึงจะสามารถเข้าถึง Content หรือสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ง่ายและตรงความต้องการมากที่สุด สะดวกที่สุด ก็เลยมีการพูดถึง

cc

 

The Future Internet: Service Web 3.0

อ่ะ….. พอดีไปค้นเจอมา เป็น Video ที่เขาทำสรุปไว้เกี่ยวกับ WEB 3.0 ทำได้เข้าใจง่ายดี อาจจะเก่าไปนิดหน่อย แต่ดูแล้วก็จะเข้าใจ เห็นภาพ ทั้งที่ผ่านมา ปัจจุบัน และอนาคตของโลกอินเตอร์เน็ต ลองคลิ๊กดูกัน

สรุป ง่ายๆ ก็คือ  เว็บ 3.0 นี้จะไปเน้นเรื่องการจัดการข้อมูลในเว็บมากขึ้น ดีขึ้น และทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเขัาถึงเนื้องหาของเว็บได้ดีขึ้นนั้นเอง และ Web 3.0 ผมมองว่าจะเป็นการพัฒนา แก้ไขปัญหาในระบบเว็บ 2.0 มากกว่าการสร้างบนพื้นฐานความรู้ใหม่  ยังไงก็ค่อยๆ ว่ากันไป เอาเป็นว่า รู้ประมาณนี้ก็พอจะไปประติประต่อกะคนอื่นเขาได้ เวลาเขาพูดถึงคำพวกนี้กันนะครับ

 

WEB 4.0 คืออะไร

อ่ะ มาว่ากันต่อ WEB 4.0 หรือบางทีเขาเรียกกันว่า “A Symbiotic web” คือเว็บที่ทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) ที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์สามารถคิดได้ มีความฉลาดมากขึ้น ในการอ่านทั้งเนื้อหา ข้อความ และรูปภาพ  หรืวีดีโอ สามารถที่จะตอบสนองหรืตัดสินใจได้ว่าจะ load ข้อมูลอะไร จากไหน ที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้ผู้ใช้งานก่อนก่อน  และนอกจากนี้ยังมีรูปแบบการนำมาแสดงที่รวดเร็ว เว็บ 4.0 จะทำให้เว็บ หรือข้อมูลต่างๆ สามารถทำงานได้แทบจะทุก Device หรืออาจจะช่วยระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้เอง

บล็อก (BLOG)  คืออะไร

บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์

ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ

บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น

บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย

ลักษณะของสื่อใหม่

  • กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
  • มีลักษณะเป็น Interactive
  • ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
  • เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย

Internet Forum คืออะไร

Internet Forum คือบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปราย ทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง(virtual community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม

Internet forums มีหลายชื่อเรียก เช่น web forums, message boards, discussion boards, discussion forums, discussion groups, bulletin boards

Wiki คืออะไร

 

ขออธิบายถึงโปรแกรม MediaWiki ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานสำหรับ Wikipedia และเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไป Download ไปใช้ได้ เพราะเป็นที่นิยมและมีลูกเล่นที่หลากหลาย

ตัว wiki เองสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ที่จะทำสารานุกรมออนไลน์ สิ่งที่สารานุกรมนำเสนอคือความหมาย คำจำกัดความ ความรู้ และข้อมูลประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำคำหนึ่ง ๆ โดยระบบเปิดให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถเข้ามาสร้าง แก้ไข ตรวจสอบเนื้อหาและข้อมูลต่าง ๆ ได้ (ข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับใน wikipedia จะต้องเป็นข้อมูลที่มีบทความตีพิมพ์อ้างอิงเท่านั้น)

ส่วนโปรแกรม MediaWiki เองสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายแบบ แต่ต้องเข้าใจ Concept การจัดการเนื้อหาของระบบ wiki ก่อนถึงจะใช้ได้สะดวก สำหรับคนที่เคยใช้ระบบ Content Management System (CMS) ตัวอย่างเช่น Joomla หรือ เคยใช้งาน Blog เช่น WordPress แล้วมาใช้งาน MediaWiki ครั้งแรกจะงงกับวิธีใช้งาน เพราะทั้ง CMS และ Blog จะมีการเพิ่มเนื้อหาในรูปแบบ Content ใหม่ ๆ เรียงตามลำดับวันที่เพิ่มเข้าไปเรื่อย ๆ เราสามารถดูจากหน้าแสดงข้อมูลทั้งหมดได้ แต่ Wiki สิ่งที่เราสร้างคือหน้าบทความ จะไม่มีการอ้างถึง Aricle ID หรือ Content ID แต่บทความที่สร้างหรือใน wiki เรียกว่าหน้า (Page) นั้นจะเข้าถึงโดยใช้ชื่อหน้านั้น ๆ ประกอบกับหมวดหมู่ (Category) เช่น Special:Contact_Page และการเชื่อมโยงระหว่างหน้าจะทำโดยการใส่ Link เชื่อมโยง หรือการค้นหาโดย Search Page

สรุปคือวิธีการใช้งาน wiki จะทำในลักษณะเหมือนกับเราเขียนหนังสือขึ้นมา (แต่อาจเขียนหลาย ๆ เล่ม และสามารถเชื่อมโยงหากันได้) มีบทความหลาย ๆ บทความประกอบกัน เราสามารถสร้างสารบัญเนื้อหาขึ้นเองได้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลของผู้ที่มาดูเว็บถูกจัดให้เข้าถึงอย่างเป็นลำดับตามที่เจ้าของ wiki วางโครงสร้างไว้นั่นเอง

มีหลาย ๆ เว็บที่นำ wiki มาเป็น Engine นำ Content ขึ้นแสดงแทนที่จะใช้โปรแกรม CMS เพราะลูกเล่นในการเชื่อมโยงเนื้อหา ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ดีกว่า CMS ทั่ว ๆ ไป และการใช้งานยังง่าย (ถ้าเข้าใจวิธีใช้แล้ว) เพราะเจ้าของเว็บสามารถแก้ไขข้อมูลจากหน้าเว็บได้เลย อีกทั้งมี Extensions ให้ลงเพิ่มเพื่อเพิ่มความสะดวกและลูกเล่นอื่น ๆ อีก เช่น Text Editor สำหรับ wiki, Contact Us Page หรือการใส่เนื้อหาจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ เช่น Flickr, GoogleMap เป็นต้

 

instant messaging คืออะไร


instant messaging มักจะได้รับการเรียกย่อว่า “IM” หรือ “IMing” เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อความผ่านโปรแกรมประยุกต์ซอฟต์แวร์ในเวลาจริง โดยทั่วไป รวมอยู่ในซอฟต์แวร์ IM เป็นความสามารถดูเพื่อนที่เลือก เพื่อนร่วมงาน หรือ “buddy” ง่ายขึ้นที่ออนไลน์และเชื่อมต่อผ่านบริการที่เลือก instant messaging แตกต่างจากอีเมล์ธรรมดาในการแลกเปลี่ยนข่าวสารและทำการแลกเปลี่ยนต่อเนื่องง่ายกว่าการส่งอีเมล์ไปมา การแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่เป็นข้อความเท่านั้น ผ่านบริการยอดนิยม เช่น AOL, MSN Messenger, Yahoo! Messenger และ Apple’s iChat ที่ยอมให้การส่งข่าวสารด้วยเสียง การแบ่งปันไฟล์ และ video chat เมื่อผู้ใช้ทั้งคู่มีกล้อง instant messaging คืออะไร

สำหรับการให้ IMing ทำงาน ผู้ใช้ทั้งคู่สามารถออนไลน์ในเวลาเดียวกันและผู้รับเป้าหมายต้องมีความต้องรับ instant message ตามที่เป็นไปได้ในการคอนฟิกลูกข่าย IM ให้ปฏิเสธ chat session ความพยายามในการส่ง IM ไปถึงบางคนผู้ที่ไม่ได้ออนไลน์ หรือผู้ที่ไม่ต้องการรับ instant message จะเป็นผลลัพธ์ในคำเตือนว่าการส่งผ่านไม่สามารถเสร็จสิ้น ถ้าซอฟต์แวร์ออนไลน์ได้รับการตั้งค่าให้ยอมรับ IM จะมีการเตือนผู้รับด้วยเสียงเด่น หรือ window เก็บข่าวสารนำเข้า

ในอดีต ทั้งผู้ใช้ต้องใช้ซอฟแวร์เดียวกัน อย่างไรก็ตาม ลูกข่ายปัจจุบันจำนวนมากยอมให้ทำงานภายในระหว่างเครือข่าย รวมถึง Live Messenger ที่ Microsoft พัฒนาล่าสุด

ภายใต้เงื่อนไขจำนวนมาก IMing เป็น “instant” อย่างแท้จริง ถึงแม้ว่า ระหว่างช่วงการใช้อินเตอร์เน็ต ความล่าช้ามากกว่าหนึ่งหรือวินาทีน้อยมาก สิ่งนี้เป็นไปได้สำหรับประชาชนสองคนหรือมากกว่าต้องสนทนาออนไลน์ตามเวลาจริงโดย IMing กลับไปกลับมาแต่ละคน

ในช่วงเวลาที่บุคคลอาจจะรับ IM จากบางคน ขณะที่เพิ่งเข้าร่วมแช๊ตกับคนอื่นอยู่ และตกลงใจทำ IM chat ต่อไปกับทั้งคู่อย่างอิสระและอย่างพร้อมกัน สิ่งนี้ต้องระวังเพื่อหลีกเลี่ยงความขวยเขินของการส่ง IM ของคนหนึ่งไปให้อีกคน ถึงแม้ว่า คนรุ่นเยาว์ “ผู้ชำนาญอินเตอร์เน็ต” มักจะผ่านระดับนี้ของ multi-task ตามที่ได้ปฏิบัติทุกวัน

การพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ยอมให้ผู้ใช้สามารถทำได้ผ่าน IM ผ่านอุปกรณ์ยอดนิยม เช่น T-Mobile Sidekick II หรือโทรศัพท์ฉลาดอื่น


โฟล์กโซโนมี

โฟล์กโซโนมี (อังกฤษ: folksonomy) หรือ ปัจเจกวิธาน คืออนุกรมวิธานที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง ซึ่งใช้ในการแบ่งหมวดหมู่และค้นคืน หน้าเว็บ รูปภาพ ตัวเชื่อมโยงเว็บ และเนื้อหาบนเว็บอื่นๆ โดยใช้กินติดป้ายที่ไม่จำกัดข้อความ โดยปกติโฟล์กโซโนมีทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามอาจจะถูกนำไปใช้ในบริบทอื่นเช่นกัน กระบวนการการติดป้ายแบบโฟล์กโซโนมีเจตนาที่จะเพิ่มความง่ายในการค้นหา ค้นพบ และหาตำแหน่ง เมื่อเวลาผ่านไป โฟล์กโซโนมีที่พัฒนาขึ้นมาอย่างดีตามหลักการแล้วสามารถใช้เป็นรายการคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสร้างขึ้นมาโดยผู้ใช้อันดับแรก และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้อันดับแรก เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดสองแห่งที่ใช้การติดป้ายแบบโฟล์กโซโนมีคือ ฟลิคเกอร์ และ del.icio.us อย่างไรก็ตามมีการชี้ประเด็นว่า ฟลิคเกอร์ ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีของ’โฟล์กโซโนมี

เนื่องจากโฟล์กโซโนมีพัฒนาขึ้นในสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้จึงสามารถค้นพบได้ว่าใครเป็นผู้ติดป้ายโฟล์กโซโนมี และสามารถดูได้ว่าผู้ใช้คนอื่นสร้างป้ายอะไรขึ้นมาบ้าง

HTTP(HyperText Transfer Protocol)

HTTP เป็นกลไกหรือโปรโตคอลหลักที่ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ของเวิลด์ไวด์เว็บ โดยถูกออกแบบมาให้มีความกระทัดรัด สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีกระบวนการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และมีคำสั่งที่ใช้งานไม่มากนัก แต่สามารถรองรับข้อมูลได้ทุกแบบ ไม่ว่าเป็นข้อมูลทั่วไปที่เข้ารหัสแบบ MIME หรือข้อมูลที่เป็นกราฟิก

หลักการทำงานทั่วๆไปของ HTTP คือ จะแบบการทำงานออกเป็น 2 ด้านคือ ด้านเว็บเซิร์ฟเวอร์ และด้านไคลเอนต์ โดยไคลเอนต์จะติดต่อเข้ามายังเซิร์ฟเวอร์โดยใช้โปรแกรมบราวเซอร์ และอ้างถึงแอดเดรสของเซิร์ฟเวอร์โดยใช้รูปแบบของ URL ส่วนด้านเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลกลับมาในรูปแบบที่เป็น HTML โดยที่โปรโตคอล HTTP ใช้วิธีการเข้ารหัสในแบบ MIME เป็นมาตรฐานของการทำงาน

โครงสร้างข้อมูลของ HTTP จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ ส่วนเฮดเดอร์ หรือเรียกว่า metadata จะเป็นส่วนเก็บข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ภายในโปรโตคอล ส่วนที่สองเป็นส่วนข้อมูลจริงที่ต้องการรับส่ง ทั้งนี้ HTTP ถูกออกแบบมาให้สามารรับส่งข้อมูลผ่าน Proxy หรือ Firewall ต่างๆได้ โดยการทำงาน HTTP จะอาศัยโปรโตคอลพื้นฐาน TCP/IP ซึ่งทั่วไปจะใช้หมายเลขพอร์ตที่ 80

โปรโตคอล HTTP ในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวอร์ชั่น 1.1 (จากเดิมคือ เวอร์ชั่น 1.0) ซึ่งโปรแกรมบราวเซอร์ที่แพร่หลายทั่วไปนั้นจะสามารถรองรับโปรโตคอลในเวอร์ชั่นใหม่นี้ได้ และได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานใน RFC2068 แล้ว โดยในHTTP เวอร์ชั่น1.1 นี้ได้เพิ่มประสิทธิภาพทำงานให้สูงขึ้น และปรับปรุงในด้านต่างๆที่ทำให้ความสามารถมากขึ้น

 

 

 

บทที่ 1 Introduction to E-Business and E-Commerce

E-Commerce

E-Commerce เป็นการดำเนินการทางธุรกิจทุกอย่างโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์  ไม่ว่าจะเป็น การผลิต การโฆษณา การขายหรือการขนส่ง ซึ่งเป็นการลดข้อจำกัดในด้านระยะทาง และเวลาลงได้

Ecommerce

E-Business

E-Business เป็นการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ  เพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการทำงานขององค์กร  เป็นการลดต้นทุน  และทำให้เกิดการขยายโอกาสทางการค้า

e-busines

โลกเสมือน

โลกเสมือน คือ การจำลองสภาพแวดล้อม  ที่สามารถตอบสนอต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆกัน  ผ่านเครือข่ายออนไลน์ที่รองรับการใช้งานตลอดเวลา

eCommerceJun08_05

Location Based Service(LBS)

Location Based Service(LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรอื่นๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ ทำให้เรารู้ได้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่ไหนบ้าง และเราจะไปที่นั่นได้อย่างไร เป็นต้น

layar-1024x769

บริการเครือข่ายสังคม

บริการเครือข่ายสังคม (Social Network Service) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เครือข่ายที่เป็นที่นิยมได้แก่ facebook twitter skype chatON ในปัจจุบันมีการหาผลประโยชน์ร่วมด้วย คือ หาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกม

social-media-marketing
intranet

Intranet เป็นเครือข่ายส่วนตัวของหน่วยธุรกิจที่ประกอบด้วยการเชื่อมต่อภายใน และสามารถ ใช้ lease line ในเครือข่ายแบบ WAN ตามปกติ intranet รวมถึงการติดต่อผ่าน gateway ไปยังระบบอินเตอร์เน็ตภายนอก จุดประสงค์หลักของ intranet อยู่ที่การใช้สารสนเทศภายในบริษัท และทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างพนักงาน intranet สามารถใช้ในการทำงานเป็นกลุ่มหรือการประชุมทางไกล (Teleconference)
Intranet ใช้ TCP/IP, HTTP และโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ และเปรียบได้เป็นเวอร์ชันของอินเตอร์เน็ต ด้วยช่องทางดังกล่าว บริษัทสามารถส่งข้อความภายในผ่านเครือข่ายสาธารณะ โดยระบบความปลอดภัยพิเศษ ให้ไปยังอีกของระบบ intranet

Extranet

Extranet เป็นเครือข่ายส่วนตัวที่ใช้ internet protocol และระบบการสื่อสารสาธารณะที่มีความปลอดภัยในการแบ่งส่วนของสารสนเทศ หรือ การปฏิบัติงานของบริษัทกับผู้ขายสินค้า หุ้นส่วน ลูกค้า หรือธุรกิจอื่น extranet สามารถมองเห็นส่วนของ internal ที่มีขยายไปสู่ผู้ใช้ภายนอกบริษัท ซึ่งสามารถให้คำจำกัดความเป็น “สถานะของภายใน” ในขณะที่อินเตอร์เน็ตได้รับการพิจารณาว่าเป็นการทำธุรกิจกับบริษัทอื่น และการขายสินค้าให้ลูกค้า โดยใช้ประโยชน์จาก HTML, Hypertext Transfer Protocol (HTTP) , Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตที่ได้นำเข้าสู่อินเตอร์เน็ต หรือ intranet ที่ดูเหมือนได้รับการออกแบบในเชิงธุรกิจระหว่างธุรกิจต่างๆ extranet ต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ทำให้ต้องการ firewall server ในการบริหารการจ่ายและใช้ของ digital certificate หรือวิธีคล้ายกันของ user authentication, การ encryption ข่าวสาร และการใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (virtual private network) ที่เป็นช่องทางในเครือข่ายสาธารณะ

อินเทอร์เน็ต (Internet)

คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย


inter01

hanebeck7