บทที่ 5 E-Commerce

 ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสาร 
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce)
     คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง ขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
    -การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
    -การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
    -การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
    -การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
    -รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
    -การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่               
 
(M-Commerce : Mobile Commerce)
 
โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
 
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
    1.ระบบเครือข่าย (Network)
    2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
    3.การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
    4.การรักษาความปลอดภัย (Security)
 
การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
องค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
    1.การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
    2.การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
    3.กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
    4.การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
    5.การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion
 
Business Model of E-Commerce
  Brick – and – Mortar Organization
    องค์กรแบบดั้งเดิมที่ดำเนินงานโดยที่ไม่ได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต Virtual Organization  
    องค์กรที่ดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์ล้วนๆ Click – and – Mortar Organization
    ดำเนินธุรกิจทางด้านE-commerceบางอัน ธุรกิจหลักคือมี E-commerce ด้วยมีหน้าร้านด้วย
 
ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
    1.Business-to-Business (B2B)
    2.Business-to-Customer (B2C)
    3.Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
    4.Customer-to-Customer (C2C)
    5.Customer-to-Business (C2B)
    6.Mobile Commerce
 
กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
    1.Intrabusiness (Organization) E-Commerce
    2.Business-to-Employee (B2E)
    3.Government-to-Citizen (G2C)
    4.Collaborative Commerce (C-Commerce)
    5.Exchange-to-Exchange (E2E)
    6.E-Learning
 
E-Commerce Business Model
    แบบจำลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ รวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
 
ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
     ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้
 
  ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
     ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerceอื่น ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัว และมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว
 
  ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
     ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า  ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้าง ร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม
 
  ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
     การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน
 
  บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
     บริการจากภาครัฐมักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน  เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ
 
  ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
     ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้าปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก
 
  ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
      ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขายผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อหรือผู้ขายให้เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้ ตลาด ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ
 
  ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
      รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า
 
ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
    1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
    3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
    4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
    5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
    6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
    7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
    8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
    1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
    2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
    3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
    4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
    5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

ใส่ความเห็น